วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

งานสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล

ระดับภายนอก (external level หรือ individual user views)
        ระดับภายนอก เป็นระดับอยู่สูงสุด โดยผู้ใช้สามารถมองเห็นข้อมูลในฐานข้อมูล ตามความต้องการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน เช่น
จากตัวอย่างการออกแบบฐานข้อมูลพนักงาน ในรูปที่ 2.2 กาหนดการมองเห็นข้อมูลให้กับ   ผู้ใช้แต่ละคนดังนี้
ผู้ใช้คนที่ 1 (ฝ่ายขายต้องการใช้ข้อมูล รหัสพนักงาน , ชื่อพนักงาน และยอดขาย
2 (ฝ่ายบัญชีต้องการใช้ข้อมูล รหัสพนักงานชื่อพนักงาน และ เงินเดือน
ผู้ใช้คนที่ 3 (ฝ่ายฝึกอบรมต้องการใช้ข้อมูล ชื่อพนักงานแผนก,วุฒิการศึกษา และความสามารถพิเศษผู้ใช้แต่ละคนจะทราบโครงสร้างฐานข้อมูลเฉพาะรายการที่ต้องการใช้เท่านั้น เสมือนว่าไม่ทราบว่ามีข้อมูลอย่างอื่นเก็บอยู่ในฐานข้อมูล เช่น ผู้ใช้คนที่ 1 จะไม่ทราบว่ามีการเก็บข้อมูลเงินเดือน แผนก วุฒิการศึกษา หรืออื่น ๆ ในฐานข้อมูล
ระดับแนวคิด (conceptual level view)
  ระดับแนวคิด เป็นระดับที่อยู่ถัดลงมาจากระดับภายนอก ประกอบด้วย เค้าร่าง (schema) ที่อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลประกอบไปด้วยตารางอะไรบ้าง แต่ละตารางประกอบไปด้วยรายการอะไรบ้าง แต่ละรายการมีค่าเป็นอะไรได้บ้าง รายการใดเป็นคีย์หลัก รายการใดเป็นคีย์นอก และอ้างอิงถึงตารางอะไร เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงกฎเกณฑ์ต่าง  เกี่ยวกับข้อมูลและสิทธิในการใช้ข้อมูลของผู้ใช้
ระดับภายใน (internal level view)
  ระดับภายใน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระดับกายภาค (physical view) เป็นระดับที่อยู่ล่างสุด ประกอบด้วยเค้าร่างทเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลจริงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล (storage) ได้แก่
1. รูปแบบการจัดเก็บ การจัดเก็บข้อมูลมี 3 รูปแบบ คือ
จัดเก็บแบบลาดับ (sequential)
จัดเก็บแบบโดยตรง (direct)
จัดเก็บแบบดัชนี (index sequential)
 2. วิธีการเข้าถึงข้อมูล (access) การเลือกวิธีการเข้าถึงข้อมูล จะต้อง
สอดคล้อง กับรูปแบบการจัดเก็บ ซึ่งวิธีเข้าถึงข้อมูล มี 2 วิธี คือ
แบบเรียงตามลาดับ ใช้สาหรับการจัดเก็บข้อมูลแบบลาดับ
แบบสุ่ม ใช้สาหรับการจัดเก็บข้อมูลแบบโดยตรง และ แบบดัชนี
3. ขนาดของข้อมูลที่เก็บในแต่ละบล็อกมีขนาดเท่าใด
4. กาหนดดิสก์ในการเก็บข้อมูล จะเป็นการกาหนดว่าแต่ละตารางหรือแต่ละ
ฐานข้อมูลเก็บไว้ในดิสก์ใด ( กรณีที่มีหลายดิสก์)
ประโยชน์ของการแบ่งระดับของระบบฐานข้อมูล เพื่อให้การใช้งานข้อมูลแต่ละระดับเป็นอิสระจากกัน นั่นคือไม่ต้องแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งที่เกิดเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น